ขอบคุณบทความจาก http://www2.eduzones.com/training/127430
ทุกวันนี้ ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีที่ทันสมัยช่วยสร้างความสะดวกสบายให้เราในหลายๆด้าน สำหรับด้านการศึกษาก็เช่นกัน เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเรียนการสอน ทำให้การเรียนรู้ของเด็กๆสอดคล้องกับชีวิตประจำวันมากขึ้น และไอแพดก็ได้กลายมาเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาของเด็กในยุคนี้ หลายประเทศจึงมีการนำไอแพดเข้าไปใช้ สิงคโปร์ก็เป็นหนึ่งในนั้น และเขาก็ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่าง สูงสุดเสียด้วย เขาทำได้อย่างไร... ติดตามได้จากคลิปนี้ค่ะ
NANYANG GIRLS’ HIGH SCHOOL หรือโรงเรียนมัธยมหญิงนันยาง เป็นโรงเรียนไอแพดต้นแบบแห่งแรกๆ ของอาเซียน ซึ่งครูใหญ่ของที่นี่บอกว่านักเรียนทุกคนชอบเทคโนโลยี และมักจะใช้เวลาส่วนมากไปกับคอมพิวเตอร์ เราจึงคิดว่าหากยังใช้กระดานดำอยู่ก็คงจะไม่ทันต่อยุคสมัย นี่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงต้องใช้เครื่องมือที่ได้ผลมากๆ อย่างไอแพดเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน เพราะสิ่งนี้จะทำให้เด็กๆ อยากเรียนรู้ พวกเขาจะกระตือรือร้นมากกว่าเดิม และมีวินัยสูงขึ้นอีกด้วย
การนำไอแพดมาให้เด็กใช้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะผู้ปกครองส่วนใหญ่จะกังวลเรื่องเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมเวลาที่ลูกท่องโลกไซเบอร์ ดังนั้น ครูจึงต้องพูดคุยกับเด็กถึงวิธีการใช้ไอแพดและอินเทอร์เน็ตที่ถูกต้อง แต่จะไม่ควบคุมพวกเขาจนเกินไป เพราะนั่นจะเป็นการจำกัดความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขาไปโดยปริยาย สิ่งที่ครูควรทำคือปล่อยพื้นที่บางส่วนไว้ให้เด็กค้นหาสิ่งใหม่ๆ ด้วยตนเอง แต่ก็ไม่ละเลยที่จะแนะนำและกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้อยู่เสมอด้วยเช่นกัน
สำหรับโรงเรียนมัธยมหญิงนันยางนั้น ครูที่นี่มองว่าไอแพดมีประโยชน์มาก เพราะมันสามารถเปลี่ยนความคิดต่อห้องเรียนแบบเก่าๆ จากที่ปกติจะมีแค่โต๊ะกับเก้าอี้ มาเป็นห้องเรียนแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่ามันอาจจะใช้ยากบ้างในตอนแรก แต่ท้ายที่สุดแล้ว ไอแพดก็ช่วยตอบโจทย์การเรียนรู้ในยุคไอทีให้กับเด็กๆ ได้ดีเลยทีเดียว
ปัจจุบัน การศึกษากับเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มาคู่กัน โรงเรียนที่นำไอแพดมาใช้นั้นจึงต้องเตรียมความพร้อมหลายด้าน แต่ด้านที่สำคัญที่สุดคือศักยภาพของครู ครูต้องกล้าที่จะเปลี่ยน และกล้าที่จะลองอะไรใหม่ๆ ซึ่งถ้ามีครูในลักษณะนี้มารวมตัวกันมากๆ คุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ของเด็กๆ ก็คงจะได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน
..............................................
ทุกวันนี้ ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีที่ทันสมัยช่วยสร้างความสะดวกสบายให้เราในหลายๆด้าน สำหรับด้านการศึกษาก็เช่นกัน เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเรียนการสอน ทำให้การเรียนรู้ของเด็กๆสอดคล้องกับชีวิตประจำวันมากขึ้น และไอแพดก็ได้กลายมาเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาของเด็กในยุคนี้ หลายประเทศจึงมีการนำไอแพดเข้าไปใช้ สิงคโปร์ก็เป็นหนึ่งในนั้น และเขาก็ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่าง สูงสุดเสียด้วย เขาทำได้อย่างไร... ติดตามได้จากคลิปนี้ค่ะ
NANYANG GIRLS’ HIGH SCHOOL หรือโรงเรียนมัธยมหญิงนันยาง เป็นโรงเรียนไอแพดต้นแบบแห่งแรกๆ ของอาเซียน ซึ่งครูใหญ่ของที่นี่บอกว่านักเรียนทุกคนชอบเทคโนโลยี และมักจะใช้เวลาส่วนมากไปกับคอมพิวเตอร์ เราจึงคิดว่าหากยังใช้กระดานดำอยู่ก็คงจะไม่ทันต่อยุคสมัย นี่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงต้องใช้เครื่องมือที่ได้ผลมากๆ อย่างไอแพดเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน เพราะสิ่งนี้จะทำให้เด็กๆ อยากเรียนรู้ พวกเขาจะกระตือรือร้นมากกว่าเดิม และมีวินัยสูงขึ้นอีกด้วย
การนำไอแพดมาให้เด็กใช้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะผู้ปกครองส่วนใหญ่จะกังวลเรื่องเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมเวลาที่ลูกท่องโลกไซเบอร์ ดังนั้น ครูจึงต้องพูดคุยกับเด็กถึงวิธีการใช้ไอแพดและอินเทอร์เน็ตที่ถูกต้อง แต่จะไม่ควบคุมพวกเขาจนเกินไป เพราะนั่นจะเป็นการจำกัดความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขาไปโดยปริยาย สิ่งที่ครูควรทำคือปล่อยพื้นที่บางส่วนไว้ให้เด็กค้นหาสิ่งใหม่ๆ ด้วยตนเอง แต่ก็ไม่ละเลยที่จะแนะนำและกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้อยู่เสมอด้วยเช่นกัน
สำหรับโรงเรียนมัธยมหญิงนันยางนั้น ครูที่นี่มองว่าไอแพดมีประโยชน์มาก เพราะมันสามารถเปลี่ยนความคิดต่อห้องเรียนแบบเก่าๆ จากที่ปกติจะมีแค่โต๊ะกับเก้าอี้ มาเป็นห้องเรียนแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่ามันอาจจะใช้ยากบ้างในตอนแรก แต่ท้ายที่สุดแล้ว ไอแพดก็ช่วยตอบโจทย์การเรียนรู้ในยุคไอทีให้กับเด็กๆ ได้ดีเลยทีเดียว
ปัจจุบัน การศึกษากับเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มาคู่กัน โรงเรียนที่นำไอแพดมาใช้นั้นจึงต้องเตรียมความพร้อมหลายด้าน แต่ด้านที่สำคัญที่สุดคือศักยภาพของครู ครูต้องกล้าที่จะเปลี่ยน และกล้าที่จะลองอะไรใหม่ๆ ซึ่งถ้ามีครูในลักษณะนี้มารวมตัวกันมากๆ คุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ของเด็กๆ ก็คงจะได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน
..............................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น